ถาม-ตอบ

สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับสู่ Thai Visa Center เราให้บริการรับทำวีซ่าทุกประเภท เปลี่ยนประเภทวีซ่า ต่ออายุวีซ่า ขอใบอนุญาตทำงาน ต่อใบอนุญาตทำงานสำหรับชาวต่างชาติ และบริการจดทะเบียนบริษัทอย่างมืออาชีพด้วยประสปการณ์ความรู้และความเชี่ยวชาญของทีมงานของเรา. Thailand Visa & Work Permit Services and Thailand Company Registration Service 100% Success Rate, Money Back Guarantee. Contact us 081-595 1466

ถาม : คน ต่างชาติที่จะเข้ามาทำงานในประเทศไทย จะต้องขอวีซ่าประเภทใดเข้ามาครับ?

ตอบ : คนต่างด้าวที่ประสงค์ทำงานในประเทศไทย จะต้องได้รับการตรวจลงตราประเภท Non-Immigrant เพื่อใช้ในการเดินทางเข้าประเทศไทย โดยคนต่างด้าวจะต้องติดต่อขอรับการตรวจลงตรา(Visa) จากสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลของไทยในต่างประเทศ โดยสามารถตรวจสอบรายละเอียดเอกสารประกอบการยื่นคำร้องขอรับการตรวจลงตราได้จาก Website http://www.consular.go.th/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=76#NonImmigrantVisa 
โดยให้เลือกดูข้อมูล = การติดต่อหรือประกอบธุรกิจ และการทำงาน (รหัส B)

   * ทั้งนี้เมื่อได้รับการตรวจลงตราประเภท Non-Immigrant type “B” แล้วเมื่อเดินทางเข้าประเทศไทย เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ณ ด่านตรวจคนเข้าเมือง  จะประทับตราอนุญาตให้พำนักในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราว เป็นระยะเวลา 90 วัน ค่ะ

 

ถาม : คนต่างชาติได้ขอวีซ่า ประเภท  Non-Immigrant  Type “B” เพื่อเดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทยแล้ว แต่ยังไม่มี Work Permit จะต้องดำเนินการอย่างไรครับ?

ตอบ : แนะนำให้ติดต่อขอคำแนะนำเรื่องการขอใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) จากกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน เพราะมีกฎหมายและระเบียบต่างๆ กำหนดไว้สำหรับการทำงานของคนต่างชาติ สามารถตรวจสอบข้อมูลได้จาก Website = www.doe.go.thค่ะ

 

ถาม : มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอนุญาตในการขออยู่ต่อเพื่อทำงาน หรือทำธุรกิจ อย่างไรบ้างครับ?

ตอบ : สามารถตรวจสอบหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณากรณีคนต่างด้าวราวขออนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ได้ที่ Website = http://www.immigration.go.th/nov2004/doc/temporarystay/policy777-2551_th.pdf

 

ถาม : การขออยู่ต่อเพื่อทำงาน หรือทำธุรกิจ จะต้องใช้เอกสารประกอบอะไรบ้างครับ?

ตอบ : หากคนต่างชาติทำงานในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สามารถตรวจสอบรายการเอกสารที่ใช้ประกอบการยื่นคำร้องขออยู่ต่อได้ที่ Website = http://bangkok.immigration.go.th/base.php?page=service#
โดยให้เลือกดูข้อมูล >การขออยู่ต่อ > กรณีมีเหตุจำเป็นทางธุรกิจ ค่ะ

 

ถาม : สามารถยื่นเรื่องขออยู่ต่อฯ ได้ก่อนวีซ่าหมดกี่วันครับ?

ตอบ : สามารถยื่นเอกสารขออยู่ต่อได้ 30 วัน ก่อนครบกำหนดอนุญาต (ที่เจ้าหน้าที่ตม.ประทับตราให้ไว้) ค่ะ

 

ถาม : สามารถ Download แบบฟอร์มที่ใช้ประกอบการยื่นคำร้องขออยู่ต่อประเภทธุรกิจได้ที่ใดครับ?

ตอบ : สามารถ Download แบบฟอร์มที่ใช้ประกอบการยื่นคำร้องขออยู่ต่อประเภทธุรกิจได้จาก Website = http://www.immigration.go.th/nov2004/base.php?page=download ดังนี้ ค่ะ
        1. คำขออนุญาตเพื่ออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป (ตม. 7) เนื่องจากแบบฟอร์มเป็นแบบ 2 หน้าอยู่ใน 1 แผ่น ฉะนั้นการสั่งพิมพ์กรุณาพิมพ์แบบกระดาษหน้า - หลัง อยู่ในแผ่นเดียวกัน นะคะ
        2. แบบหนังสือรับรองคนต่างด้าวเข้าทำงาน (สตม.1) 
        3. แบบหนังสือรับทราบเงื่อนไขการอนุญาตให้อยู่ต่อในราชอาณาจักร (สตม.2) 
        4. ตัวอย่างหนังสือชี้แจงเหตุหลและความจำเป็นในการจ้างคนต่างด้าว


ถาม : 
คนต่างด้าวได้รับอนุญาตให้ทำงานในพื้นที่กรุงเทพมหานคร หากประสงค์ขออยู่ต่อในราชอาณาจักร จะต้องยื่นเรื่องที่ใดครับ?
ตอบ : หากต่างด้าวทำงานในพื้นที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร สามารถยื่นคำร้องขออยู่ต่อได้ที่ บก.ตม.1 ดูรายละเอียดการย้ายที่ทำการของ บก.ตม.1 (กรุงเทพมหานคร เดิม)ไปยังศูนย์ราชการฯ อาคารบี ชั้น 2 ด้านทิศใต้ได้ที่ Website =http://www.immigration.go.th/nov2004/move.html ค่ะ

 

 

ถาม : คนต่างด้าวไม่ได้ทำงานในพื้นที่กรุงเทพมหานคร หากประสงค์ขออยู่ต่อในราชอาณาจักร จะต้องยื่นเรื่องที่ใดครับ?

ตอบ : หากคนต่างด้าวทำงานในเขตพื้นที่จังหวัดอื่น (ไม่ใช่กรุงเทพมหานคร) สามารถตรวจสอบหมายเลขติดต่อของด่านตรวจคนเข้าเมืองประจำจังหวัดต่างๆ ได้ที่ = http://immigration.go.th/nov2004/base.php ค่ะ

 

ถาม : หากคนต่างด้าวได้ขอวีซ่า ประเภท  Non-Immigrant type “B” เข้ามาทำงานในไทย กรณีเอกสารไม่ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ แต่ต้องการขยายเวลาในการอยู่ในประเทศไทย สามารถทำได้กี่วัน และต้องใช้เอกสารใดบ้างคะ?

ตอบ : กรณีคนต่างด้าวได้รับการตรวจลงตราประเภท Non-Immigrant type “B” แต่ยังไม่มี Work Permit สามารถยื่นขออยู่ต่อได้เพียง 7 วัน (นับจากวันอนุญาตครั้งสุดท้าย) เท่านั้น 
        เอกสารที่ใช้ประกอบ : 
         1. แบบฟอร์มตม.7 พร้อมติดรูปถ่าย   2. ค่าธรรมเนียม 1,900 บาท   3. สำเนาหนังสือเดินทาง ค่ะ

ถาม : คนต่างด้าวต้องการจะขอวีซ่าเพื่อติดตามผู้ได้สิทธิ์ขออยู่ต่อเพื่อทำงานและได้รับอนุญาตให้อยู่ได้ 1 ปีแล้วจะต้องใช้วีซ่าอะไรในการเดินทางเข้าประเทศไทยครั?
ตอบ : คนต่างด้าวจะต้องได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว (Non-O) จึงจะสามารถยื่นคำร้องขออยู่ต่อในราชอาณาจักรเพื่อติดตามต่างด้าวผู้ได้รับสิทธิ์แล้วค่ะ

 

ถาม : มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอนุญาตในการขออยู่ต่อเพื่อติดตามผู้ที่ได้รับสิทธิ์ให้อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทำงาน หรือทำธุรกิจ อย่างไรบ้างครับ?

ตอบ : สามารถตรวจสอบหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณากรณีคนต่างด้าวขออนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ได้ที่ Website = http://www.immigration.go.th/nov2004/doc/temporarystay/policy777-2551_th.pdf   ค่ะ

ถาม :
 พ่อ แม่ สามารถยื่นติดตามผู้ที่ได้รับสิทธิ์ให้อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทำงาน หรือทำธุรกิจได้หรือไม่ครับ?
ตอบ : กรณีบิดาหรือมารดาจะติดตามคนต่างด้าวซึ่งยื่นคำร้องขออยู่ต่อในราชอาณาจักรด้วยเหตุผลทางธุรกิจ นั้น คนต่างด้าวจะต้องมีอายุตั้งแต่ 50 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป โดยคนต่างด้าวจะต้องได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว (Non-O) จึงจะสามารถยื่นคำร้องขออยู่ต่อในราชอาณาจักรเพื่อติดตามต่างด้าวผู้ได้รับสิทธิ์แล้วค่ะ

 

ถาม : ภรรยาสามารถยื่นติดตามสามีผู้ที่ได้รับสิทธิ์ให้อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทำงาน หรือทำธุรกิจได้หรือไม่ครับ?

ตอบ : กรณีคู่สมรสจะติดตามคนต่างด้าวซึ่งยื่นคำร้องขออยู่ต่อในราชอาณาจักรด้วยเหตุผลทางธุรกิจ นั้น คู่สมรสต้องมีความสัมพันธ์กันทั้งทางนิตินัยและพฤตินัย โดยคนต่างด้าวจะต้องได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว (Non-O) จึงจะสามารถยื่นคำร้องขออยู่ต่อในราชอาณาจักรเพื่อติดตามต่างด้าวผู้ได้รับสิทธิ์แล้วค่ะ

 

าม : ลูกสามารถยื่นติดตามพ่อ-แม่ ผู้ที่ได้รับสิทธิ์ให้อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทำงาน หรือทำธุรกิจ ได้หรือไม่ครับ?

ตอบ : กรณีบุตร บุตรบุญธรรม หรือบุตรของคู่สมรสขออยู่ในความ อุปการะ บุตร บุตรบุญธรรม หรือบุตรของคู่สมรสนั้นต้องยังไม่ได้สมรส และอยู่อาศัยเป็นส่วนแห่งครัวเรือนและต้องมีอายุไม่เกิน 20 ปีบริบูรณ์ โดยคนต่างด้าวจะต้องได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว (Non-O) จึงจะสามารถยื่นคำร้องขออยู่ต่อในราชอาณาจักรเพื่อติดตามต่างด้าวผู้ได้รับสิทธิ์แล้วค่ะ

 

าม : พ่อตา แม่ยาย สามารถยื่นติดตามลูกเขยผู้ที่ได้รับสิทธิ์ให้อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทำงาน หรือทำธุรกิจ ได้หรือไม่ครับ?

ตอบ : พ่อตา แม่ยายไม่สามารถยื่นคำร้องขออยู่ต่อเพื่อติดตามลูกเขยผู้ที่ได้รับสิทธิ์ให้อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทำงาน หรือทำธุรกิจแล้ว ได้เนื่องจากไม่มีระบุไว้ในหลักเกณฑ์ค่ะ

 

ถาม : การขออยู่ต่อเพื่อติดตามผู้ได้รับสิทธิ์ให้อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทำงาน หรือทำธุรกิจแล้ว จะต้องใช้เอกสารประกอบอะไรบ้างครับ?

ตอบ : รายละเอียดรายการเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการยื่นคำร้องดังนี้ 
        1. แบบคำขอ ตม.7 รูปถ่าย ขนาด 4 x 6 ซม. จำนวน 1 รูป และ ค่าธรรมเนียม 1,900.- บาท 
        2. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ได้สิทธิและผู้ติดตาม
        3. สำเนาใบขออนุญาตทำงาน (ผู้ได้สิทธิ)
        4. หนังสือรับรองผู้ติดตาม
        5. หลักฐานครอบครัว (ทะเบียนสมรส สูติบัตร อื่นๆ) โดยผ่านการรับรองจากสถานทูตของประเทศนั้นๆ ในประเทศไทย และรับรองลายเซ็นโดยกรมการกงสุล กระทรวงต่างประเทศ

 

ถาม : หากประสงค์จะยื่นคำร้องขออยู่ต่อเพื่อติดตามผู้ได้รับสิทธิ์ให้อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทำงาน หรือทำธุรกิจแล้ว สามารถยื่นเรื่องได้ที่ใด?

ตอบ : การยื่นคำร้องขออยู่ต่อให้กับผู้ติดตามนั้นให้ติดต่อ ตม. เดิมตามที่ท่านได้เคยยื่นคำร้องขออยู่ต่อเพื่อการธุรกิจให้คนต่างด้าวผู้มี work permit

    * หากต่างด้าวหลัก (ผู้มี work permit) ทำงานในพื้นที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร สามารถยื่นคำร้องขออยู่ต่อได้ที่ บก.ตม.1 ดูรายละเอียดการย้ายที่ทำการของ บก.ตม.1 (กรุงเทพมหานคร เดิม)ไปยังศูนย์ราชการฯ อาคารบี ชั้น 2 ด้านทิศใต้ได้ที่เวปไซด์ = http://www.immigration.go.th/nov2004/move.html

 

าม : หากคนต่างด้าว หมดวาระ หรือลาออกจากบริษัทก่อนครบกำหนดอนุญาต (วีซ่า) คนต่างด้าวจะยังคงสามารถอยู่ในราชอาณาจักรได้อีกหรือไม่?

ตอบ : คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ต่อในราชอาณาจักรเพื่อทำงาน หากพ้นหน้าที่หรือเปลี่ยนสถานที่ทำงานใหม่จะถือว่าการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเดิมนั้นสิ้นสุดลงทันที ทั้งนี้ รวมถึงครอบครัวผู้ใช้สิทธิ์ติดตามคนต่างด้าวผู้นั้นด้วย

   * หากคนต่างด้าวประสงค์อยู่ต่อ ให้เตรียมเอกสาร ตม.7 สำเนาหนังสือเดินทาง รูปถ่าย 1 ใบ พร้อมค่าธรรมเนียม 1,900 บาท เพื่อยื่นคำร้องขออยู่ต่อ ได้อีก 7 วัน (นับวันที่พ้นหน้าที่เป็นวันแรก)

 

ถาม : หากคนต่างด้าว หมดวาระ หรือลาออกจากบริษัท คนต่างด้าวหรือนายจ้างจะต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง?

ตอบ : หากคนต่างด้าวพ้นหน้าที่หรือเปลี่ยนสถานที่ทำงานใหม่ บริษัทเดิมที่คนต่างด้าวทำงานจะต้องเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้ มาแจ้งตม.เพื่อดำเนินการยกเลิกวีซ่า 
        1.จดหมายถึงสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองแจ้งคนต่างด้าวพ้นหน้าที่ (โดยจะต้องระบุวันที่ออกจากงานให้ชัดเจน หากไม่ระบุวันที่ฯ จะถือว่าออกจากงานตามวันที่ที่ออกจดหมาย) ลงนามโดยกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันบริษัท 
        2. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท หรือการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด ฉบับนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 6 เดือน 
        3. สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทางของกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันบริษัท พร้อมลงชื่อกำกับรับรองสำเนาถูกต้อง 
        4. หนังสือเดินทางของคนต่างชาติผู้พ้นหน้าที่ (เจ้าหน้าที่ต้องประทับตราพ้นหน้าที่ในเล่มหนังสือเดินทางดังกล่าวค่ะ)

   * ทั้งนี้การแจ้งพ้นหน้าที่(ยกเลิกวีซ่า)จะทำให้การอนุญาตอยู่ต่อในราชอาณาจักรสิ้นสุดลงทันที และจะต้องมาติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อแจ้งพ้นหน้าที่ในวันที่เลิกจ้าง (วันสุดท้ายของการทำงาน) ค่ะ

 

ถาม : คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ได้ 1 ปี จะต้องแจ้งที่พักอาศัย(ทุก 90 วัน) หรือไม่?

ตอบ : ต้องแจ้งที่พักอาศัยเมื่ออยู่ในราชอาณาจักรครบทุก  90  วัน  โดยใช้แบบฟอร์ม ตม.47

 

ถาม : กรณีเป็นเจ้าของบ้าน มีคนต่างด้าวเข้ามาพักอาศัยอยู่ด้วยจะต้องทำอย่างไรบ้าง(ให้ตัวแทนมาดำเนินการแทนได้หรือไม่)?

ตอบ  :  เจ้าของบ้านจะต้องแจ้งคนต่างด้าวมาเข้าพักอาศัยต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาที่คนต่างด้าวเข้าพักอาศัย ซึ่งอาจแจ้งด้วยตนเอง หรือ มอบหมายให้ผู้อื่นนำหนังสือมาแจ้งแทนได้ โดยกรอกแบบฟอร์มการแจ้ง (ตม.30) ให้ครบถ้วน หรืออาจแจ้งได้โดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน

 

ถาม  :  การแจ้งที่พักอาศัย เมื่ออยู่ในราชอาณาจักรเกิน 90 วัน ของคนต่างด้าวใช้เอกสารอะไรบ้าง ?

ตอบ  :  กรณีที่คนต่างด้าวมาดำเนินการแจ้งฯ ด้วยตนเองหรือให้ผู้อื่นมาดำเนินการแทน ใช้เอกสารดังนี้

        1. หนังสือเดินทางของคนต่างด้าว (ฉบับจริง)

        2. แบบฟอร์ม ตม.47 ซึ่งกรอกและลงลายมือชื่อของคนต่างด้าวแล้ว

        3. ใบรับแจ้งฯ ครั้งสุดท้าย (ถ้ามี)

 

ถาม  :  การแจ้ง 90 วัน ถ้าแจ้งหลังครบกำหนดมีโทษหรือไม่ ?

ตอบ  :  - กรณีมารายงานตัวกับเจ้าหน้าที่เอง มีโทษปรับ 2,000 บาท 
            -หากเจ้าหน้าที่ตรวจพบจะถูกปรับ 4,000 บาท และปรับอีกวันละ 200 บาท 
               นับจากวันครบกำหนดจนกว่าจะปฏิบัติถูกต้อง

 

ถาม  :  การแจ้งที่พักอาศัย กรณีอยู่เกินกว่า 90 วัน ให้ผู้อื่นมาแจ้งแทนได้หรือไม่ อย่างไร ?

ตอบ  :  สามารถให้ผู้อื่นมาแจ้งแทนได้ แต่ต้องไม่เกินกำหนดที่จะต้องแจ้ง โดยนำหนังสือเดินทางของคนต่างด้าว และแบบฟอร์ม ตม.47 ซึ่งคนต่างด้าวลงลายมือชื่อไว้แล้ว พร้อมทั้งใบรับแจ้งครั้งสุดท้าย (ถ้ามี)

 

ถาม  :  การแจ้งที่พักอาศัย กรณีอยู่เกินกว่า 90 วัน แจ้งได้ที่ไหน ?

ตอบ  :  กรณีที่มาแจ้งฯ ด้วยตนเอง หรือมีผู้อื่นมาดำเนินการแทนให้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่  ณ  ที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองในเขตพื้นที่ที่ผู้นั้นพักอาศัยอยู่

 

ถาม  :  คนต่างด้าวที่พักอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จะต้องรายงานตัวแจ้งอยู่เกินกว่า 90 วันที่ไหน ?

ตอบ  :  งานแจ้งอยู่เกิน 90 วัน ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครจะต้องรายงานตัวที่ 
             กองกำกับการ 2 กองตรวจคนเข้าเมือง 1
             ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 
            เลขที่ 120 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ ซอย 7
            แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210

 

ถาม  :  การแจ้งที่พักอาศัย ของคนต่างด้าวกรณีอยู่เกินกว่า 90 วัน หากคนต่างด้าวไม่มาแจ้งด้วยตนเองหรือมอบให้ผู้อื่นมาดำเนินการ สามารถแจ้งฯ ด้วยวิธีอื่นใดอีกบ้าง และหากมีจะต้องดำเนินการอย่างไร ?

ตอบ  :  คนต่างด้าวสามารถดำเนินการ แจ้งฯ ได้โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน โดยมีเอกสารและวิธีการดำเนินการดังนี้ 
        1.  สำเนาหนังสือเดินทางหน้ารูปถ่าย+ชื่อ+นามสกุล,ตราประทับวีซ่า ครั้งล่าสุด,ตราประทับ ตม.ขาเข้าของวันเดินทางเข้าประเทศครั้งสุดท้าย,ตราประทับอนุญาตให้อยู่ในประเทศไทยครั้งล่าสุด 
        2.  สำเนาบัตร ตม.6 (TM.6) หน้า-หลัง 
        3.  ใบรับแจ้งอยู่เกิน 90 วัน (ใบนัดครั้งสุดท้าย กรณีที่ไม่มีการเดินทางออกนอกประเทศ)  ใช้ใบจริงเท่านั้น 
        4.  กรอกแบบฟอร์ม ตม.47 ให้ครบถ้วน พร้อมคนต่างด้าวลงลายมือชี่อให้เรียบร้อย 
        5.  ซอง จม. ขนาด 6.5X9 นิ้ว พร้อมติดแสตมป์ 10 บาท โดนจ่าหน้าซองถึงตัวท่านเองเพื่อเจ้าหน้าที่จะได้ส่งใบนัดครั้งต่อไป พร้อมแนบ     ฟอร์ม ตม.47 กลับไปยังท่าน 
        6.  นำเอกสารตามข้อ 1-5 ใส่ซองเอกสารส่งไปรษณีย์ลงทะเบียนโดยจะต้องส่งก่อนวันครบกำหนดแจ้งครั้งต่อไป 7 วัน มายังที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองที่คนต่างด้าวพักอาศัยอยู่ (เก็บใบลงทะเบียนไว้เป็นหลักฐานด้วย)

 

ถาม :  การแจ้งคนต่างด้าวเข้าพักอาศัย กรณีเป็นเจ้าของบ้านตามข้อ 2 จะต้องแจ้งที่ไหน ?

ตอบ  :  ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ถ้าอยู่ในเขตที่ที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองตั้งอยู่ให้แจ้งที่ทำการนั้น หากไม่มีที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองให้แจ้งต่อสถานีตำรวจท้องที่

 

ถาม  :  ขอแบบฟอร์มแจ้งคนต่างด้าวเข้าพักอาศัย (ตม.30) ได้ที่ไหน ?

ตอบ :  สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองทั่วราชอาณาจักร หรือดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ 
www.immgration.go.th

 

ถาม  :  คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยุ่ต่อระยะยาว (1ปี) แล้ว หากเดินทางออกนอกประเทศแล้วกลับเข้ามาใหม่ จะต้องมาแจ้ง 90 วัน เมื่อใด?

ตอบ :  กรณีดังกล่าว คนต่างด้าวจะต้องมารายงานตัวเมื่อครบกำหนด 90 วัน นับจากวันที่เดินทางเข้ามาครั้งสุดท้าย

 

ถาม  :  การยื่นคำร้องขออยู่ต่อในราชอาณาจักร ตามแบบฟอร์ม ตม.7 ซึ่งมีการระบุที่อยู่ถือว่าเป็นการแจ้งที่พักอาศัยทุก 90 วัน ได้หรือไม่ ?

ตอบ  :  การยื่นคำร้องขออยู่ต่อในราชอาณาจักรตามแบบฟอร์ม ตม.7 แม้ว่าจะมีการระบุที่อยู่อาศัยของคนต่างด้าว แต่ก็ไม่ถือว่าเป็นการรายงานตัวแจ้งที่พักอาศัยทุก 90 วัน

   * การแจ้งที่พักอาศัยทุก 90 วัน จะต้องแจ้งโดยใช้แบบฟอร์ม ตม.47 เท่านั้น

 

ถาม  :  คนต่างด้าวหนังสือเดินทางหายต้องทำอย่างไรบ้าง และเมื่อได้รับเล่มใหม่แล้วต้องทำอย่างไรบ้าง ?

ตอบ  :  แจ้งความที่ สถานีตำรวจ จากนั้นติดต่อสถานทูตของบุคคลต่างด้าว เพื่อขอรับหนังสือเดินทางฉบับใหม่ นำใบแจ้งความพร้อมหนังสือเดินทางพบเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง เพื่อสำเนาตราประทับ อนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร

 

ถาม  :  การขออยู่ในราชอาณาจักรประเภทต่างๆ ต้องมาติดต่อด้วยตนเองหรือ มอบอำนาจได้หรือไม่ ?

ตอบ  :  ต้องมาติดต่อด้วยตนเองเท่านั้น

 

ถาม  :  คนต่างด้าวเข้ามาไม่มีวีซ่าจะขออยู่ต่อได้หรือไม่อย่างไร ?

ตอบ  :  คนต่างด้าวสัญชาติที่เดินทางเข้ามาได้โดยไม่มีวีซ่า หากมายื่นคำร้องอยู่ต่อ เจ้าหน้าที่จะประทับตราให้คนต่างด้าวเดินทางกลับภายใน7วัน นับถัดจากวันอนุญาตสิ้นสุด

 

ถาม  :  คนต่างด้าวมีภรรยาเป็นคนไทยขออยู่ประเทศไทยเพื่ออุปการะภรรยาได้หรือไม่ มีหลักเกณฑ์อย่างไร ?

ตอบ  :  ได้ มีหลักเกณฑ์ดังนี้ 
          1.คนต่างด้าวได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว 
          2.หลักฐานแสดงความสัมพันธ์ เช่น ทะเบียนสมรสและ คร.2,สูติบัตรบุตร        (ถ้ามี)
          3.หลักฐานการมีสัญชาติไทยของภรรยา เช่น บัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน หรือเอกสารอื่นที่พิสูจน์ได้ว่ามีสัญชาติไทยจากส่วนราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 
          4.คู่สมรสต้องมีความสัมพันธ์กันทั้งนิตินัยและพฤตินัยโดยแสดงรูปถ่ายครอบครัวและที่พักอาศัย,แผนที่บ้าน 
          5.สามีซึ่งเป็นคนต่าวด้าวต้องมีหลักฐานการแสดงรายได้เฉลี่ยทั้งปีไม่น้อยกว่าเดือนละ40,000บาท หรือ เงินฝากในธนาคารในประเทศไทยคงอยู่ในบัญชีตลอดระยะเวลา 2 เดือน ไม่น้อยกว่า 400,000 บาท เพื่อไว้ใช้จ่ายในรอบปี 
โดยมีหลักฐานเอกสารเพื่อแสดงฐานะของสามี ดังนี้ ;
                5.1    หลักฐานแสดงฐานะของสามี กรณีทำงานในประเทศไทย

                 - ใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าว

                 - หนังสือรับรองจากบริษัทผู้ว่าจ้าง โดยระบุรายละเอียดเกี่ยวกับเงินเดือน (เดือนละไม่น้อยกว่า 40,000 บาท)

                 - หลักฐานการชำระภาษีเงินได้พร้อมใบเสร็จรับเงิน ได้แก่ ภ.ง.ด.1 (3 เดือนล่าสุด) และ ภ.ง.ด. 91 (ในรอบปีที่ผ่านมา)
                5.2   กรณีมีเงินฝากธนาคารในประเทศไทย (ออมทรัพย์/ประจำ)         
                 - บัญชีธนาคาร  ณ  วันยื่นคำขอ มีเงินฝากคงอยู่ในบัญชีตลอดระยะเวลาย้อนหลัง 2 เดือน ไม่น้อยกว่า 400,000 บาท

                 - หนังสือรับรองการมีเงินฝากจากธนาคารในประเทศไทย  ณ  ปัจจุบัน  ไม่น้อยกว่า  400,000 บาท หรือ

                5.3  กรณีมีรายได้จากต่างประเทศ เช่น เงินบำนาญ หรือเงินประกันสังคม

                - หนังสือรับรองจากสถานทูต หรือสถานกงสุลในประเทศไทยของผู้ยื่นคำขอแสดงการมีรายได้จากเงินบำนาญหรือรายได้อื่นไม่น้อยกว่า 40,000 บาทต่อเดือน

            6.   บันทึกถ้อยคำรับรองการเป็นคู่สมรสของคนต่างด้าว

 

ถาม  :  มีภรรยาเป็นชาวต่างชาติต้องการให้มาอยู่ในประเทศไทยต้องทำอย่างไร ?

ตอบ  :  กรณีชาวต่างชาติที่สมรสกับสามีสัญชาติไทยต้องการมาอยู่ในประเทศไทยมีหลักเกณฑ์ดังนี้ 
          1.ได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว 
          2.คู่สมรสต้องมีความสัมพันธ์กันทั้งนิตินัยและพฤตินัย 
          3.หลักฐานแสดงความสัมพันธ์  เช่น ทะเบียนสมรส  และ คร.2  ,  สูติบัตร(ถ้ามี)
          4.หลักฐานการมีสัญชาติไทยของสามี เช่น บัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนา 
             ทะเบียนบ้าน 
          5. รูปถ่ายครอบครัว ณ ที่พักอาศัย 
          6.แผนที่บ้านพักอาศัย

 

ถาม  :  ขออนุญาตอยู่ต่อฯ ประเภทวีซ่า NON-IMMIGRANT สัญชาติทวีปเอเชีย ติดต่อที่ไหน ?

ตอบ  :  ปัจจุบันการขออนุญาตอยู่ต่อฯ ประเภทวีซ่า NON-IMMIGRANT ทุกสัญชาติ สามารถยื่นขออยู่ต่อได้ที่ บก.ตม.1 ศูนย์ราชการฯ อาคารบี ชั้น 2 ซอยแจ้งวัฒนะ 7 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯเฉพาะกรณีคนต่างด้าวผู้ยื่นคำขอมีที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร หากมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดอื่นก็สามารถ ยื่นได้ ณ ตรวจคนเข้าเมืองพื้นที่ที่คนต่างด้าวมีภูมิลำเนา

 

ถาม  :  มีบุตรเป็นคนไทยจะขอมารับการอุปการะจากบุตรได้หรือไม่ ?

ตอบ  :  ตามหลักเกณฑ์การขออยู่ต่อ กรณีดังกล่าวอาจยื่นคำร้องด้วยเหตุผลเป็นครอบครัวของผู้มีสัญชาติไทย โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้ 
        1.คนต่างด้าวซึ่งเป็นบิดา/มารดาต้องได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว 
        2.หลักฐานแสดงความสัมพันธ์ เช่น สูติบัตร 
       
        3.หลักฐานการมีสัญชาติไทยของบุตร เช่น บัตรประจำตัวประชาชน,สำเนาทะเบียนบ้าน หรือ หลักฐานอื่นๆจากส่วนราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 
        4.บิดาหรือมารดาต้องมีรายได้เฉลี่ยทั้งปีไม่น้อยกว่าเดือนละ 40,000 บาท หรือต้องมีเงินฝากไม่น้อยกว่า 400,000 บาท เพื่อไว้ใช้จ่ายในรอบปี โดยให้แนบหนังสือรับรองการมีเงินฝากจากธนาคารในประเทศไทยพร้อมสำเนาบัญชีธนาคารหรือแนบเอกสารแสดงการมีรายได้ของบิดาหรือมารดาซึ่งเป็นคนต่างด้าวเฉลี่ยทั้งปี ไม่น้อยกว่าเดือนละ 40,000 บาท เช่น หลักฐานการยื่นแบบแสดงรายการสัมภาษณ์เงินได้บุคคลธรรมดาพร้อมใบเสร็จรับเงิน หลักฐานการมีบำนาญ(หนังสือรับรองจากสถานทูต/สถานกงสุลของคนต่างด้าวประจำประเทศไทย)
        5.บันทึกให้ถ้อยคำรับรองการเป็นบิดาหรือมารดาของบุตรผู้มีสัญชาติไทย

 

ถาม  :  คนต่างด้าวอายุประมาณ 35 ปี ต้องการเข้ามาอยู่ในประเทศไทยโดยไม่ต้องทำงาน หรือแต่งงานกับคนไทยได้หรือไม่ มีหลักเกณฑ์อย่างไร ?

ตอบ  :  ได้ กรณีเพื่อการลงทุนไม่น้อยกว่า ๑๐ ล้านบาท มีหลักเกณฑ์ดังนี้

        1. คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว

        2. มีหลักฐานการโอนเงินเขาสู่ประเทศไทยจำนวนไม่น้อยกว่า ๑๐ ล้านบาท

   หลักฐานโอนเงินจากต่างประเทศเข้าสู่ประเทศไทยจากธนาคาร

  1. มีหลักฐานการลงทุนโดยการซื้อหรือเช่าระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๓ ปี ห้องชุดในอาคารชุดจากหน่วยงานหรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในราคาซื้อหรือเช่าไม่น้อยกว่า ๑๐ ล้านบาท (สำเนาสัญญาซื้อขายห้องชุดและสำเนาการจดทะเบียนแสดงการเป็นเจ้าของห้องชุดจากส่วนราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง) หรือ
  2. มีหลักฐานการลงทุนโดยการฝากเงินประจำกับธนาคารที่จดทะเบียนในประเทศไทยซึ่งมี ผู้ถือหุ้นเป็นคนสัญชาติไทยเกินกว่าร้อยละ ๕๐ ไม่น้อยกว่า ๑๐ ล้านบาท หรือ (หนังสือรับรองการมีเงินฝากจากธนาคารและสำเนาหลักฐานการฝากเงิน)
  3. มีหลักฐานการลงทุนโดยการซื้อพันธบัตรของทางราชการหรือของรัฐวิสาหกิจไม่น้อยกว่า ๑๐ ล้านบาท  (สำเนาพันธบัตร) หรือ
  4. มีหลักฐานการลงทุนรวมกัน ตาม (๓),(๔)หรือ (๕) ไม่น้อยกว่า ๑๐ ล้านบาท

 

ถาม  :  บุตรที่ติดตามพ่อหรือแม่เข้ามาทำงานในประเทศไทย มีเกณฑ์อายุกำหนดหรือไม่ อย่างไร ?

ตอบ :   มี กรณีบุตร บุตรบุญธรรม หรือบุตรของ คู่สมรสขออยู่ในอุปการะ บุตร บุตรบุญธรรมหรือบุตรของคู่สมรสนั้นต้องยังไม่ได้สมรส และอยู่อาศัยเป็นส่วนแห่งครัวเรือนนั้นและต้องมีอายุไม่เกิน ๒๐ ปีบริบูรณ์

 

ถาม : ถ้าต้องการใช้ชีวิตบั้นปลายต้องมีอายุเท่าใด มีหลักเกณฑ์อย่างไรบ้าง ?

ตอบ : มีอายุตั้งแต่ 50 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป มีหลักเกณฑ์ดังนี้

  • คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว (Non-O)
  • มีหลักฐานการมีเงินได้ไม่น้อยกว่าเดือนละ 65,000 บาท หรือ 800,000

บาทต่อปี โดยมีหลักฐานเอกสารตามแต่กรณี ดังนี้ 
     2.1  กรณีมีเงินฝากธนาคารในประเทศไทย (ออมทรัพย์/ประจำ)

  • บัญชีธนาคาร  ณ  วันยื่นคำขอ มีเงินฝากคงอยู่ในบัญชีตลอดระยะเวลาย้อนหลัง 3 เดือน ไม่น้อยกว่า 800,000 บาท (เฉพาะในปีแรก ให้แสดงบัญชีเงินฝาก โดยมีเงินจำนวนดังกล่าวฝากในบัญชีมาแล้วไม่น้อยกว่า 60 วัน)
  •  หนังสือรับรองการมีเงินฝากจากธนาคารในประเทศไทย ณ  ปัจจุบันไม่น้อยกว่า 800,000 บาท หรือ

     2.2 กรณีมีรายได้จากต่างประเทศ เช่นเงินบำนาญ หรือเงินประกันสังคม

  • หนังสือรับรองจากสถานทูต หรือสถานกงสุลของผู้อื่นคำขอในประเทศไทย แสดงการมีรายได้จากเงินบำนาญ หรือรายได้อื่นไม่น้อยกว่าเดือนละ 65,000 บาท

     2.3  กรณีมีเงินฝากธนาคารในประเทศไทย และเงินรายได้จากบำนาญ คำนวณรวมกัน ได้ไม่น้อยกว่า 800,000 บาท ต่อปี

 

ถาม :  ถ้าเงินฝากไม่ถึงจำนวนที่ตั้งไว้ นำเงินที่ได้รับรายเดือนมารวมด้วยได้หรือไม่ ?

ตอบ  :  ได้โดยสามารถมีเงินฝากในธนาคารในประเทศไทยรวมกับเงินรายได้รายเดือน เช่น บำนาญคำนวณรวมกันได้ไม่น้อยกว่า 800,000 บาทต่อปี โดยแสดงหลักฐานเอกสารตามที่กำหนด

 

ถาม  :  ถ้าเป็นสามีภรรยากันใช้เงินฝากบัญชีเดียวกันมาแสดงได้หรือไม่ ?

ตอบ :  ไม่ได้ ต้องเป็นชื่อบัญชีเงินฝากของผู้ยื่นคำร้องเท่านั้น

 

ถาม : ถ้าต้องการเข้ามารักษาตัวในประเทศไทยทำได้หรือไม่ มีหลักเกณฑ์อย่างไร ?

ตอบ : ได้ โดยต้องได้รับการรับรองและร้องขอจากแพทย์ประจำโรงพยาบาลที่ทำการตรวจรักษา โดยให้ปรากฏรายละเอียดเกี่ยวกับอาการป่วย ระยะเวลาในการรักษาและความเห็นของแพทย์ผู้รักษาว่าอาการป่วยนั้นเป็นอุปสรรคต่อการเดินทาง

 

ถาม : คนต่างด้าวมีคดีอยู่ที่ศาลไม่ว่าเป็นโจทก์หรือจำเลย ถ้าวีซ่าหมดสามารถขออยู่ต่อได้หรือไม่ อย่างไร ?

ตอบ : ได้ โดยต้องมีหลักฐานยืนยันว่าเป็นผู้เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดี หรือดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดีโดยเป็นผู้กล่าวหา ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา โจทก์จำเลย หรือพยาน

 

ถาม : คนไทยถือหนังสือเดินทางประเทศอื่นมาขอต่อวีซ่าต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง ?

ตอบ : เอกสารหลักฐานแสดงว่าเดิมเคยมีสัญชาติไทย หรือแสดงว่าบิดา หรือ มารดามีสัญชาติไทย หรือเคยมีสัญชาติไทย เช่น บัตรประจำตัวประชาชน,ทะเบียนบ้าน,สูติบัตรเป็นต้น

 

ถาม  :  ถ้าคนต่างด้าวยื่นคำร้องขอพิสูจน์สัญชาติไทย แต่วีซ่าใกล้หมดอายุต้องทำอย่างไรบ้าง ?

ตอบ : ยื่นขออยู่ต่อฯ ด้วยเหตุผลพิสูจน์สัญชาติ โดยต้องได้รับการรับรองจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง

 

ถาม  :  คนต่างด้าวมีวีซ่า NON-IMMIGRANT เข้ามาติดตั้งเครื่องจักร ถ้ายังไม่เสร็จภายในกำหนดวีซ่าต้องทำอย่างไร ?

ตอบ  :  ยื่นขออยู่ต่อฯ โดยต้องได้รับการรับรองและร้องขอจากองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 

ถาม : ต่อวีซ่าไว้แล้วนัดฟังผลต้องมาฟังด้วยตนเองหรือไม่ ?

ตอบ : ไม่จำเป็น กรณีที่ยื่นคำร้องขออยู่ต่อในราชอาณาจักรและเจ้าหน้าที่นัดให้มาฟังผลการพิจารณาคนต่างด้าวอาจมาด้วยตนเองหรือมอบให้ผู้อื่นนำหนังสือเดินทางมาดำเนินแทนได้ 

 

ถาม : ถ้าจดทะเบียนสมรสในต่างประเทศเวลายื่นขออยู่ต่อฯ ต้องแปลและรับรองอย่างไร ?

ตอบ  : ต้องให้สถานทูตหรือสถานกงสุลของประเทศเจ้าของเอกสารรับรองการแปลข้อความในเอกสารแล้วนำมาให้กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศตรวจรับรองลายมือชื่อ ผู้มีอำนาจลงนามของสถานทูตหรือสถานกงสุลนั้นอีกครั้งหนึ่ง

 

ถาม  :  ทำงานสถานทูตในประเทศไทยขออยู่ต่อวีซ่าใช้เอกสารอะไรบ้าง ?

ตอบ : แยกการตอบเป็น 2 กรณี 
          1.  กรณีเป็นบุคคลที่ได้รับสิทธิตาม ม.15 ของ พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 จะต้องมีหลักฐานดังต่อไปนี้ 
              1.1  สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ร้องขอ 
              1.2  หนังสือรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศ 
         2.  กรณีเป็นบุคคลต่างด้าวยื่นคำขอตาม ม.35 แห่ง พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ใช้เอกสาร ดังนี้ 
              2.1  ค่าธรรมเนียม 1,900 บาท 
              2.2  แบบคำขอ 
              2.3  สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ร้องขอ 
              2.4  หนังสือรับรองและขออนุญาตให้อยู่ต่อจากส่วนราชการระดับกรมหรือเทียบเท่า

 

ถาม :  คนต่างด้าวทำงานรัฐวิสาหกิจ ต่อวีซ่าใช้เอกสารอะไรบ้าง ?

ตอบ : 1.  หนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจากรัฐวิสาหกิจ ที่เกี่ยวข้อง

           2. ใบอนุญาตทำงาน

ถาม: คนต่างด้าวเข้ามาทำงาน หรือทำวิจัยต้องใช้เอกสารอะไรบ้างในการขออยู่ต่อฯ ?

ตอบ :  1.  หนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจากคณบดีสถาบันอุดมศึกษา หรือจากหัวหน้าสถาบันวิจัยนั้น หรือ 
             2.  หนังสือรับรองและร้องขอให้อยู่ต่อจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง กรณีฝึกสอนหรือค้นคว้าวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาหรือสถาบันวิจัยของเอกชน

ถาม : คนต่างด้าวมาดูแลบุตรที่ศึกษาอยู่ในประเทศไทย ต้องทำอย่างไร ใช้วีซ่าประเภทใด ?

ตอบ : หลักเกณฑ์การพิจารณา คือ

  1. คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว
  2. มีหลักฐานแสดงความสัมพันธ์
  3. กรณีบุตร นั้น ต้องยังไม่ได้สมรส และอยู่อาศัยเป็นส่วนแห่งครัวเรือนนั้นและต้องมีอายุไม่เกิน 20 ปี บริบูรณ์ 
    -  บิดาหรือมารดา ต้องมีเงินฝากในธนาคารในประเทศไทย ในนามบิดา หรือ มารดา คงอยู่ในบัญชีตลอดระยะเวลาย้อนหลัง 3 เดือนไม่น้อยกว่า 500,000  บาท เฉพาะในปีแรกให้แสดงบัญชีเงินฝาก โดยมีเงินจำนวนดังกล่าวฝากอยู่ในบัญชีมาแล้วไม่น้อยกว่า 30 วัน  ณ  วันที่ยื่นขอตามเหตุผลนี้

 

ถาม  : ต้องการมาเรียนในประเทศไทย ต้องใช้วีซ่าประเภทใด ใช้เอกสารใดบ้าง ในการยื่นขออยู่ปีต่อปี ?

ตอบ  :  1.  วีซ่าที่ได้รับจะต้องเป็นวีซ่า NON-IMMIGRANT  Type ED

  • การมาเรียนนั้นมีทั้งเรียนในสถานศึกษาของรัฐและของเอกชน

สถานศึกษาของรัฐ

  • สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
  • หนังสือรับรองขอให้อยู่ต่อจากสถานศึกษานั้น โดยให้ปรากฏรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนปีการศึกษา ระดับหลักสูตร และผลการศึกษาของผู้ยื่นคำขอ 


สถานศึกษาของเอกชน

  • สำเนาหลักฐานการขออนุญาตให้จัดตั้ง สถานศึกษาจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
  • หนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจากสถานศึกษานั้น โดยให้ปรากฏรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนปีการศึกษาระดับหลักสูตร และผลการศึกษาของผู้ยื่นคำขอ
  • หนังสือรับรองจากหน่วยงานของรัฐระดับกรมหรือเทียบเท่าหรือจากผู้ว่าราชการจังหวัดที่รับผิดชอบสถานศึกษานั้น (ยกเว้นกรณีศึกษาในโรงเรียนนานาชาติ และกรณีศึกษาในระดับอุดมศึกษา )

 

ถาม  :  เรียนหนังสือที่โรงเรียนนานาชาติ ต่อวีซ่าต้องใช้อะไรบ้าง ?

ตอบ :   1.  สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ 
              2.  สำเนาหลักฐานการอนุญาตให้จัดตั้ง สถานศึกษาจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง

              3.  หนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจากสถานศึกษานั้น โดยให้ปรากฎรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนปีการศึกษา ระดับหลักสูตร และผลการศึกษาของผู้ยื่นคำขอ

 

ถาม : คนต่างด้าวทำงานรัฐวิสาหกิจ ต่อวีซ่าใช้เอกสารอะไรบ้าง ?

ตอบ  1. หนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจากส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือ 
               หน่วยงานอื่นของรัฐที่เกี่ยวข้อง 
         2.  ใบอนุญาตทำงาน

 

ถาม :  คนต่างด้าวผู้ถือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว มีความประสงค์จะเดินทางออกนอกราชอาณาจักร ต้องทำอย่างไร ?

ตอบ : คนต่างด้าวต้องมายื่นคำร้องขอรับใบสำคัญถิ่นที่อยู่ที่ กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 หรือด่านตรวจคนเข้าเมืองภูมิภาค โดยยื่นเอกสารประกอบดังนี้ 
        1.  หนังสือเดินทาง 
        2.  ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว 
        3.  ทะเบียนบ้าน และสำเนา 1 ฉบับ 
        4.  หลักฐานการเข้าเมือง (ถ้ามี)
        5.  รูปถ่าย 4 รูป (ขนาด 4X6 ซม.)
        6.  ค่าธรรมเนียม 19,000 บาท

     *  เมื่อได้รับใบสำคัญถิ่นที่อยู่แล้ว และ ประสงค์จะเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ต้องยื่นคำร้องขอรับการสลักหลังแจ้งออกเพื่อกลับเข้ามาอีกและขอรับการตรวจลงตราประเภท Non-Quota Immigrant Visa  ก่อน โดยยื่นเอกสารดังนี้ 
        1.  หนังสือเดินทาง 
        2.  ใบสำคัญถิ่นที่อยู่ 
        3.  ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว 
        4.  รูปถ่าย 2 รูป (ขนาด 4X6 ซม.)
        5.  ค่าธรรมเนียมสำหรับสลักหลังแจ้งออกเพื่อกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีก 1,900 บาท 
        

     *  ค่าธรรมเนียมสำหรับตรวจลงตรา Non-Quota Immigrant Visa 1,900 บาท สำหรับเดินทางครั้งเดียว และ 3,800 บาท สำหรับเดินทางหลายครั้ง

 

ถาม : คนต่างด้าวต้องทำอย่างไร เมื่อใบสำคัญถิ่นที่อยู่สูญหาย ?

ตอบ : อันดับแรก ต้องแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ  ณ  สถานีตำรวจท้องที่ จากนั้นให้คนต่างด้าวนำเอกสารมายื่นคำร้องขอรับใบสำคัญถิ่นที่อยู่ ที่ กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 หรือด่านตรวจคนเข้าเมืองภูมิภาค โดยยื่นเอกสารดังนี้ 
        1.  หนังสือเดินทาง 
        2.  ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว 
        3.  ทะเบียนบ้าน และ สำเนา  1  ฉบับ 
        4.  ใบแจ้งความของสวถานีตำรวจ 
        5.  รูปถ่าย 4 รูป (ขนาด 4X6 ซม.)
        6.  ค่าธรรมเนียม 1,900 บาท

 

ถาม : คนต่างด้าวที่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร จะต้องทำอย่างไรเมื่อใบสำคัญถิ่นที่อยู่ไม่มีพื้นที่ว่างสำหรับสลักหลังเดินทางออกนอกราชอาณาจักร ?

ตอบ : คนต่งด้าวต้องยื่นคำร้องขอเปลี่ยนใบสำคัญถิ่นที่อยู่ ที่กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 หรือด่านตรวจคนเข้าเมืองภูมิภาค โดยมีเอกสารดังนี้ 
        1.หนังสือเดินทาง 
        2. ใบสำคัญถิ่นที่อยู่ 
        3.  ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว 
        4.  ทะเบียนบ้าน และสำเนา 1 ฉบับ 
        5.  รูปถ่าย 4 รูป(ขนาด 4X6 ซม.)

        6.ค่าธรรมเนียม 1,900 บาท

 

ถาม : คนจีนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยนานกว่า 50 ปี และถือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว เมื่อประสงค์จะเดินทางออกนอกราชอาณาจักร และกลับเข้ามาอีกต้องทำอย่างไร ?

ตอบ : ในกรณีที่ยังไม่มีใบสำคัญถิ่นที่อยู่ หากประสงค์จะเดินทางออกนอกราชอาณาจักร ต้องยื่นคำร้องขอรับใบสำคัญถิ่นที่อยู่  ณ  กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 หรือ ด่านตรวจคนเข้าเมืองภูมิภาค ซึ่งคนต่างด้าวมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตพื้นที่นั้น โดยเตรียมเอกสารดังนี้ 
        1.  หนังสือเดินทาง 
        2.  ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว 
        3.  ทะเบียนบ้าน และสำเนา 1 ฉบับ 
        4.  เอกสารการเข้าเมือง (ถ้ามี)
        5.  รูปถ่าย 6 รูป (ขนาด 4X6 ซม.)
        6.  ค่าธรรมเนียม  19,000  บาท

 

ถาม : เอกสารที่ต้องใช้สำหรับการสลักหลังแจ้งออกนอกราชอาณาจักรเพี่อกลับเข้ามาอีก และการตรวจลงตราประเภท Non-Quota Immigrant Visa ต้องใช้เอกสารอะไรบ้างติดต่อที่แผนกใด ?

ตอบ : คนต่างด้าวต้องติดต่อ กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 หรือที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองภูมิภาค โดยยื่นคำร้องขอสลักหลังแจ้งออกนอกราชอาณาจักรเพื่อกลับเข้ามาอีก และคำร้องขอรับการตรวจลงตราประเภท Non-Quota Immigrant Visa โดยยื่นเอกสารประกอบดังนี้ 
        1.  หนังสือเดินทาง 
        2.  ใบสำคัญถิ่นที่อยู่ 
        3.  ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว 
        4.  รูปถ่าย 2 รูป (ขนาด 4X6 ซม.)
        5.  ค่าธรรมเนียมสำหรับสลักหลังแจ้งออกเพื่อกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีก 1,900 บาท ค่าธรรมเนียมสำหรับการตรวจลงตรา Non-Quota Immi9grant Visa1,900 บาท สำหรับการเดินทางครั้งเดียว และ3,800 บาท สำหรับเดินทางหลายครั้ง

 

ถาม : จะสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับการขอมีถิ่นที่อยู่ได้จากที่ใดบ้าง ?

ตอบ : 1. ติดต่อเจ้าหน้าที่ กก.1(งานขอมีถิ่นที่อยู่) บก.ตม.1 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 อาคาร บี (ชั้น 2 ด้านทิศใต้) ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 
           2. จากเว็บไซต์ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง

 

ถาม  :  การยื่นขอมีถิ่นที่อยู่สามารถยื่นขอประเภทไหนได้บ้าง ?

ตอบ : ประเภทการยื่นคำขอ 
          1.  ประเภทเข้ามาเพื่อการลงทุน 
          2.  ประเภทเข้ามาเพื่อทำงาน 
          3.  ประเภทเข้ามาเพื่อเหตุผลทางมนุษยธรรม แบ่งเป็น 6 กรณี ดังนี้ 
               3.1  กรณีคู่สมรส ขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร เพื่อให้ความอุปการะหรืออยู่ในความอุปการะของคู่สมรสผู้มีสัญชาติไทย 
               3.2  กรณีบุตร ขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาราจักร เพื่อให้ความอุปการะหรืออยู่ในความอุปการะของบิดาหรือมารดาผู้มีสัญชาติไทย 
               3.3  กรณีบิดาหรือมารดา ขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร เพื่อให้ความอุปการะหรืออยู่ในความอุปการะของบุตรผู้มีสัญชาติไทย 
               3.4  กรณีคู่สมรส ขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร เพื่อให้ความอุปการะหรืออยู่ในความอุปการะของคู่สมรสที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรแล้ว 
               3.5  กรณีบุตร ขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร เพื่อให้ความอุปการะ หรืออยู่ในความอุปการะของบิดาหรือมารดาที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรแล้ว 
               3.6  กรณีบิดาหรือมารดา ขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร เพื่อให้ความอุปการะหรืออยู่ในความอุปการะของบุตรที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรแล้ว 
           4.  ประเภทเข้ามาเป็นผู้เชี่ยวชาญ 
           5.  ประเภทกรณีพิเศษเฉพาะราย

 

ถาม : คุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ที่จะยื่นขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ?

ตอบ : ต้องถือหนังสือเดินทางของประเทศที่ตนเองถือสัญชาติอยู่ในปัจจุบัน และต้องได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว (Non-Immigrant Visa) พร้อมกับได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นรายปีมาแล้ว รอบเวลาการพำนักอยู่ไม่น้อยกว่า 3 ปี นับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ

 

ถาม : การขอมีใบต่างด้าว (ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว) ต้องติดต่อที่ใด และใช้เอกสารอะไรบ้าง ?

ตอบ : ต้องติดต่อที่สถานีตำรวจในท้องที่ที่มีภูมิลำเนาอยู่ 
         -  เอกสารประจำอบคำรร้องมีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ดังนี้ 
            1.  ใบสำคัญถิ่นที่อยู่ พร้อมสำเนา 
            2.  ทะเบียนบ้าน พร้อมสำเนา (บ้านที่คนต่างด้าวจะขอนำชื่อเข้าทะเบียนบ้าน)
            3.  รูปถ่าย 2 นิ้ว จำนวน 6 ใบ 
            4.  กรณีคนต่างด้าวเป็นผู้เยาว์ (เด็กอายุต่ำกว่า 16 ปี ) บิดา-มารดา หรือผู้ปกครองต้องเป็นผู้พามายื่นคำร้อง

 

ถาม : ขอทราบหลักเกณฑ์การขอใบต่างด้าว (ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว) ?

ตอบ : 1.  มีอายุ 12 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป 
           2.  มีหลักฐานการเข้าเมือง (ใบสำคัญถิ่นที่อยู่)
            -  โดยต้องติดต่อขอรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวที่สถานีตำรวจในท้องที่ที่มีภูมิลำเนาอยู่ ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับใบสำคัญถิ่นที่อยู่ หรือนับแต่วันที่มีอายุครบ 12 ปีบริบูรณ์แล้วแต่กรณี 
            -  หากไม่ดำเนินการภายในกำหนดต้องเสียค่าปรับ (กรณีล่าช้า) 500 บาท และค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบสำคัญประจำตัวปีละ 200 บาท นับจากวันที่ครบกำหนดขอรับใบสำคัญประจำตัวฯ

 

ถาม : ต้องการแก้ไขรายละเอียดในใบสำคัญประจำตัวคนต่งด้าว ต้องติดต่อที่ใด ?

ตอบ : ติดต่อ 
          1.  สถานีตำรวจที่ออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว 
          2.  กองกำกับการ 1 กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 (งานทะเบียนคนต่างด้าว)
เอกสารประกอบ   การขอแก้ไขข้อมูลในใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ดังนี้ 
          1.  ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว พร้อมสำเนา 
          2.  หนังสือสำคัญการเข้าเมือง (ใบสำคัญถิ่นที่อยู่หรือใบแสดงรูปพรรณ) พร้อมสำเนา 
          3.  รูปถ่าย 2 นิ้ว 2 รูป 
          4.  ทะเบียนบ้าน พร้อมสำเนา 
          5.  หนังสือเดินทาง พร้อมสำเนา 
          6. หนังสือจากสถานทูตรับรองการได้สัญชาตินั้นๆ พร้อมคำแปลภาษาไทย (กรณีขอแก้ไขรายการสัญชาติ)
          7.  ใบสำคัญการสมรส และทะเบียนสมรส พร้อมสำเนา (กรณีขอเพิ่มเติมชื่อคู่สมรส แก้ไข เพิ่มเติม ชื่อ สกุล หรือชื่ออื่น(ถ้ามี))
          8.  ใบอนญาตทำงาน พร้อมสำเนา (กรณีแก้ไขเพิ่มเติมรายการอาชีพ) หรือเอกสารอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขในรายการที่มีความประสงค์ขอแก้ไข

 

ถาม : พระชาวลาว, เขมร มาศึกษาพระธรรมต้องมีวีซ่าประเภทไหน ? 

ตอบ : NON-IMMIGRANT VISA

 

ถาม : คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยุ่ต่อระยะ 1 ปี แล้ว ต้องการ เดินทางออกนอกประเทศชั่วคราวต้องทำอย่างไร ?

ตอบ : ทำ Re-entry permit ติดต่อได้ที่ บก.ตม.1 หรือ ตม. ภูมิภาค หรือ ทาง Web site บก.ตม 1 (www.immigration.go.th)

 

ถาม : ต้องการเปลี่ยนประเภทวีซ่าทำได้หรือไม่ มีหลักเกณฑ์อย่างไรบ้าง ?

ตอบ : ทำได้ ต้องแสดงเอกสารตามประเภทที่จะเปลี่ยน

 

ถาม : การขอเปลี่ยนวีซ่าจะต้องทำใช้เอกสารอะไรบ้าง ?

ตอบ : ใช้เอกสาร ตามประเภทของวีซ่า ติดต่อสอบรายละเอียดที่เบอร์ 081-5951466

 

ถาม : ต้องการจ้างชาวต่างชาติมาทำงานในโรงงานต้องทำอย่างไรบ้าง ?

ตอบ : ขอรับการตจรวจลงตราประเภท NON-IMMIGRANT TYPE B

 

 

_____________________________________________________________________________________________________

 

 

                                       

 ไทยวีซ่าเซ็นเตอร์ เลขที่ 201 ซอยลาดพร้าว122 แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง จังหวัดกรุงเทพมหานคร 10310

โทร 02-9340187 , 081-5951466 (คุณหนุ่ย)

www.thaivisacenter.com   E-mail:thaivisacenter@gmail.com

Thai Visa Center  201 Soi Ladphrao122, Plubpla,Wangthonglang,Bangkok 10310 Thailand 

Tel: (+66) 2-9340187, (+66)8-15951466 (Thai)

 

 

 

Online Request

Please fill in the form and send us your requirements
Visitors: 1,068,116