ขอมีถิ่นที่อยู่ถาวร / Thai Permanent Residency

รายละเอียดสำหรับการยื่นคำขอเพื่อมีถิ่นอยู่ในราชอาณาจักร (ในโค้วต้าประจำปี)

1. คุณสมบัติของผู้ยื่นคำขอ
1.1 ต้องถือหนังสือเดินทางของประเทศที่ตนเองถือสัญชาติอยู่ในปัจจุบัน และต้องได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว (NON-IMMIGRANT VISA) พร้อมกับได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นรายปีมาแล้ว รอบเวลาการพำนักอยู่ไม่น้อยกว่า 3 ปี นับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ
1.2 ประเภทการยื่นคำขอ ได้แก่
   (1) ขอเข้ามาเพื่อการลงทุน
   (2) ขอเข้ามาเพื่อทำงาน
   (3) ขอเข้ามาเพื่อเหตุผลทางมนุษยธรรม แบ่งเป็น มีความสัมพันธ์กับบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่ฯ แล้ว ได้แก่ 1) เป็นสามี – ภรรยา 2) เป็นบิดา – มารดา 3) เป็นบุตรอายุต่ำกว่า 20 ปีที่ยังไม่สมรส
   (4) ขอเข้ามาเป็นผู้เชี่ยวชาญ
   (5) กรณีพิเศษเฉพาะราย (ดูรายละเอียดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขประกอบการพิจารณาอนุญาตให้คนต่างด้าวเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักที่ได้ www.immigration.go.th - การขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรประจำปี)


2. กำหนดวันเปิดรับคำขอ
หลังจากกระทรวงมหาดไทยได้ออกประกาศกำหนดจำนวนคนต่างด้าวซึ่งจะเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักประจำปี และได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจึงจะสามารถออกประกาศเปิดรับคำขอเพื่อมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรประจำปีได้ และจะสิ้นสุดการเปิดรับคำขอฯ ในวันทำการสุดท้ายของปีนั้น ซึ่งสามารถสอบถามวันเปิดรับคำขอและรายละเอียดเกี่ยวกับเอกสารประกอบคำขอได้ที่ กองกำกับการ 1 กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 (งานขอมีถิ่นที่อยู่) ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 อาคารบี ชั้น 2 เคาน์เตอร์ดี (D) เลขที่ 120 หมู่ที่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ 7 แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210 โทรศัพท์ 0 2143 8224 – 5, 0 2141 9898 – 9 หรือที่ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัด หรือทาง www.immigration.go.th – การขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักประจำปี และเมื่อเปิดรับคำขอแล้ว คนต่างด้าวต้องยื่นคำขอด้วยตนเอง พร้อมเอกสารประกอบตามประเภทการยื่นคำขอ และให้นำหนังสือเดินทางฉบับจริงทุกเล่มมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ด้วย


3. ขั้นตอนการดำเนินการหลังจากรับคำขอแล้ว
3.1 เจ้าหน้าที่จะประทับตราอนุญาตให้อยู่รอฟังผลการพิจารณา ครั้งแรก 180 วัน ครั้งต่อไป ครั้งละ 180 วัน จนกว่าจะทราบผลการพิจารณาจากคณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมือง 
3.2 รับใบนัดหมายให้คนต่างด้าว และผู้เกี่ยวข้องมาสัมภาษณ์ โดยจะมีการทดสอบความสามารถในการพูดและฟังภาษาไทยได้เข้าใจ (คนต่างด้าวจะต้องมาตรงตามวันที่นัดหมาย หากไม่มาตามที่นัดหมายโดยมีมีเหตุผลอันควร จะถือว่าสละสิทธิ์การยื่นคำขอดังกล่าว)
3.3 คนต่างด้าวที่มีอายุสิบสี่ปีขึ้นไปนับจนถึงวันที่ยืนคำขอ จะต้องได้รับการตรวจสอบประวัติอาชญากรรม ดังนี้
   (1) พิมพ์ลายนิ้วมือคนต่างด้าวดังกล่าว ส่งไปตรวจประวัติที่กองทะเบียนประวัติอาชญากร เพื่อตรวจสอบว่ามีประวัติกระทำผิดในประเทศไทย หรือไม่
   (2) ตรวจสอบหนังสือเดินทางจากระบบบัญชีเฝ้าดู (BLACK LIST) ว่าเป็นบุคคลต้องห้าม ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2552 หรือไม่
   (3) ตรวจสอบว่าเป็นบุคคลที่มีหมายจับของตำรวจสากล (BED NOTICE) จากกองการต่างประเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือไม่


4. การพิจารณา
4.1 พิจารณาโดยคณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมือง ประกอบด้วย ผู้แทนจากกระทรวงมหาดไทย, กระทรวงการต่างประเทศ, สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, กระทรวงแรงงาน, สำนักงานอัยการสูงสุด, สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน, สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ, การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง โดยความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4.2 หลักเกณฑ์การพิจารณาจะคำนึงถึง รายได้ สินทรัพย์ ความรู้ ความสามารถในด้านวิชาชีพ และฐานะในครอบครัวของคนต่างด้าวกับบุคคลซึ่งมีสัญชาติไทย เงื่อนไขเกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ บุคลิกภาพ สุขภาพ ความเข้าใจภาษาไทย และเงื่อนไขอื่นๆ ตามความเหมาะสมที่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม และนโยบายของรัฐบาล
4.3 ระยะเวลาในการพิจารณาแต่ละปีมีกำหนดระยะเวลาไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับนโยบายของคณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมือง และกระทรวงมหาดไทย

5. ค่าธรรมเนียมต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนด
5.1 ค่าธรรมเนียมสำหรับการยื่นคำขอ คนละ 7,600 บาท (เจ็ดพันหกร้อยบาทถ้วน) – จะได้รับอนุญาตหรือไม่ก็ตาม เงินค่าธรรมเนียมจะไม่คืนให้ – 
5.2 หากได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ฯ ค่าธรรมเนียมใบสำคัญถิ่นที่อยู่ ฉบับละ 191,400 บาท (หนึ่งแสนเก้าหมื่นหนึ่งพันสี่ร้อยบาทถ้วน) สำหรับคนต่างด้าวที่เป็นคู่สมรส หรือบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของคนต่างด้าวที่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร หรือ ขอบบุคคลซึ่งมีสัญชาติไทย ฉบับที่ 95,700 บาท (เก้าหมื่นห้าพันเจ็ดร้อยบาทถ้วน)

เอกสารใดเป็นภาษาต่างประเทศ ต้องผ่านการรับรองจากสถานทูต, แปลเป็นภาษาไทยโดยระบุรายละเอียดของผู้แปลที่สามารถตรวจสอบได้ และผ่านการรับรองการแปลจากกองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงต่างประเทศ

คำเตือน :
 การแสดงเอกสาร หรือ ข้อความอันเป็นเท็จเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา 
เอกสารนี้ใช้เป็นแนวทางการดำเนินการเบื้องต้นเท่านั้น อาจมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล และสภาพเศรษฐกิจ สังคม ในปัจจุบัน



เอกสารประกอบการขอมีถิ่นที่อยู่ฯ ประเภทเข้ามาเพื่อเหตุผลทางมนุษยธรรม (ธันวาคม 2552)
กรณีเพื่อให้ความอุปการะ หรือ อยู่ในความอุปการะของบุคคลผู้มีสัญชาติไทย
(สามี – ภรรยา, บิดา – มารดา หรือ บุตรอายุต่ำกว่า 20 ปีที่ยังไม่สมรส)


1. แบบคำขอเพื่อมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร (แบบ ตม.9) ( ดาวน์โหลด www.imimigration.go.th - การขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรประจำปี)
2. ใบรับรองแพทย์จากโรงพยาบาทรัฐบาล (อายุไม่เกิน 3 เดือน) (ดาวโหลด www.imimigration.go.th - การขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรประจำปี)
3. หนังสือรับรองว่าไม่เคยมีประวัติอาชญากรรมจากประเทศที่ตนมีภูมิลำเนา โดยผ่านการรับรองกงสุลไทยในประเทศนั้นๆ หรือผ่านการรับรองจากกงสุลของประเทศนั้นๆ ในประเทศไทย, แปลเป็นภาษาไทย และผ่านการรับรองจากกองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ (เฉพาะผู้ยื่นคำขอที่มีอายุตั้งแต่ 14 ปีขึ้นไป)
4. สำเนาเอกสารรับรองการเป็นครอบครัว ได้แก่ ใบสำคัญการสมรส,, ทะเบียนสมรส (ค.ร. 2) ที่มีอายุไม่เกิน 3 เดือน, ใบสูติบัตรบุตร, เอกสารการจดทะเบียนรับรองบุตร เป็นต้น ซึ่งหากเป็นเอกสารต่างประเทศ ให้ผ่านการรับรองเอกสารเช่นเดียวกับ ข้อ 3
5. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และ สำเนาทะเบียนบ้านของผู้มีสัญชาติไทย พร้อมทั้งนำต้นฉบับไปแสดงด้วย
6. สำเนาเอกสารแสดงคุณวุฒิการศึกษาของผู้ยื่นคำขอ ผ่านการรับรองจากกงสุลของประเทศนั้นๆ ในประเทศไทย, แปลเป็นภาษาไทยและผ่านการรับรองจากกองสัญชาติและนิติกรณี กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ หรือหนังสือรับรองว่าผู้ยื่นคำขอกำลังศึกษาอยู่แล้วแต่กรณี
7. หนังสือรับรองประวัติการทำงานจากสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน (ดาวโหลด www.imimigration.go.th - การขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรประจำปี) และสำเนาใบอนุญาตทำงาน ทุกเล่ม ทุกหน้า
8. หนังสือรับรองเงินเดือนจากกิจการที่ผู้ให้ความอุปการะทำงานอยู่ ซึ่งลงนามโดยผู้มีอำนาจลงนามในกิจการนั้น (ตามแบบที่กำหนด) ย้อนหลัง 2 ปี (ดาวโหลด www.imimigration.go.th - การขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรประจำปี) และ สมัครงานพร้อมสัญญาการจ้าง (ถ้ามี)
9. สำเนาแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด. 91 หรือ ภ.ง.ด. 90) ของผู้ให้ความอุปการะ พร้อมหลักฐานการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 ทวิ จำนวน 3 ปีก่อนหน้าปีที่ยื่นคำขอ ซึ่งรับรองสำเนาโดยเจ้าหน้าที่ของสรรพากร พร้อมสำเนาใบเสร็จรับเงิน
10. สำเนาแบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด.1) ตั้งแต่ต้นปี จนถึงเดือนก่อนหน้าที่ยื่นคำขอ ซึ่งรับรองสำเนาโดยเจ้าหน้าที่ของสรรพากร พร้อมสำเนาใบเสร็จรับเงิน
11. หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลที่ผู้ความอุปการะเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ด้วย (ฉบับคัดสำเนาจากกระทรวงพาณิชย์ และมีอายุไม่เกิน 3 เดือน นับถึงวันที่ยื่นคำขอ)
 
12. บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของนิติบุคคลที่ผู้ให้ความอุปการะเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ด้วย (ฉบับคัดสำเนาจากกระทรวงพาณิชย์ และมีอายุไม่เกิน 3 เดือน นับถึงวันที่ยื่นคำขอ)
13. สำเนาทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ ภาษีธุรกิจเฉพาะ เช่น ภ.พ.01, ภ.พ.09 และ ภ.พ. 20 
14. สำเนางบการเงิน (งบดุล งบกำไรขาดทุน) พร้อมแบบ ภ.ง.50 ของปีก่อนที่ยื่นคำขอ ซึ่งรับรองสำเนาโดยเจ้าหน้าที่ของสรรพากรพร้อมสำเนาใบเสร็จรับเงิน (กรณีเป็นส่วนราชการ หรือ รัฐวิสาหกิจ ไม่ต้องนำมาแสดง)
15. นิติบุคคลใด ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ให้สำเนาบัตรส่งเสริม หรือ เอกสารที่แสดงว่าได้รับการส่งเสริมด้วย
16. หนังสือรับรองจากธนาคาร พร้อมสำเนาบัญชีเงินฝากประจำของผู้ให้ความอุปการะ (ถ้ามี)
17. แผนที่แดสงสถานที่พำนักอาศัยและสถานที่ทำงาน (ดาวโหลด www.imimigration.go.th - การขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรประจำปี)
18. สำเนาหนังสือเดินทางที่แสดงว่าได้รับอนุญาตให้อยู่ต่อมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี (ทุกเล่มและทุกหน้า)
19. แบบข้อมูลบุคคล (ดาวโหลด www.imimigration.go.th - การขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรประจำปี) และภาพถ่ายผู้ให้ความอุปการะภายนอกสถานที่ทำงาน (คนเดียว), ภายในสถานที่ทำงานกับพนักงาน, ภายนอกโรงงาน (คนเดียว), ภายในโรงงานกับคนงาน เครื่องจักรและสินค้า (ถ้ามี), ภาพถ่ายคนต่างด้าวภายนอกที่พักอาศัย ภายในที่พักอาศัย พร้อมครอบครัว จำนวน 18 ภาพ ขนาดโปสการ์ดทุกภาพติดบนกระดาษหัวบริษัท ขนาด A4 พร้อมคำบรรยายใต้ภาพ
20. กรณีการยื่นอุปการะบุตรคนสัญชาติไทย ต้องนำหลักฐานการตรวจดีเอ็นเอ จากโรงพยาบาลของรัฐบาล แสดงความสัมพันธ์ระหว่างบิดา มารดา และบุตร ด้วย
21. กรณียื่นอุปการะคู่สมรสคนสัญชาติไทย และมีบุตรด้วยกัน ต้องนำหลักฐานการตรวจดีเอ็นเอ จากโรงพยาบาลของรัฐบาลแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง บิดา มารดา และบุตร ด้วย 
22. กรณีคู่สมรสคนสัญชาติไทยมีบิดามารดา หรือคนใดคนหนึ่งเป็นคนต่างด้าว ในแนบสำเนาใบสูติบัตรของคู่สมรสที่ผ่านการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งแนบสำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว, ใบสำคัญถิ่นที่อยู่, ทะเบียนบ้านของบิดามารดา ที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ฯ ด้วย หากรายใดเสียชีวิตให้แนบสำเนาใบมรณะบัตร ด้วย
23. กรณีคู่สมรสไม่สามารถมีบุตรได้ ให้แนบ ให้แนบใบรับรองแพทย์จากโรงพยาบาลของรัฐบาล พร้อมระบุสาเหตุการไม่สามารถมีบุตรได้
24. เอกสารอื่นๆ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรเรียกเพิ่มเติม

หมายเหตุ 
- เอกสารใดเป็นเอกสารส่วนตัว ให้คนต่างด้าวรับรองสำเนาเอง
- เอกสารใดเป็นเอกสารของนิติบุคคล ให้รับรองโดยผู้มีอำนาจลงนามในนิติบุคคลนั้นพร้อมประทับตราสำคัญของบริษัทฯ
- เอกสารใดเป็นภาษาต่างประเทศ ต้องผ่านการรับรองจากกงสุลของประเทศนั้นๆ ในประเทศไทย, แปลเป็นภาษาไทย โดยระบุรายละเอียดของผู้แปลที่สามารถตรวจสอบได้ และผ่านการรับรองการแปลจากกองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ 


เอกสารประกอบการขอมีถิ่นที่อยู่ ประเภทเข้ามาเพื่อทำงาน (ธันวาคม 2552)

1. แบบคำขอเพื่อมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร (แบบ ตม.9) (ดาวโหลด www.imimigration.go.th - การขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรประจำปี)
2. ใบรับรองแพทย์จากโรงพยาบาทรัฐบาล (อายุไม่เกิน 3 เดือน) (ดาวโหลด www.imimigration.go.th - การขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรประจำปี)
3. หนังสือรับรองว่าไม่เคยมีประวัติอาชญากรรมจากประเทศที่ตนมีภูมิลำเนา โดยผ่านการรับรองจากกงสุลไทยในประเทศนั้นๆ หรือผ่านการรับรองจากกงสุลของประเทศนั้นๆ ในประเทศไทย, แปลเป็นภาษาไทย และผ่านการรับรองจากกองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ 
4. สำเนาเอกสารแสดงคุณวุฒิการศึกษาของผู้ยื่นคำขอ ผ่านการรับรองจากกงสุลของประเทศนั้นๆ ในประเทศไทย, แปลเป็นภาษาไทย และผ่านการรับรองจากกองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงต่างประเทศ
5. หนังสือรับรองประวัติการทำงานจากสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน (ดาวโหลด www.imimigration.go.th - การขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรประจำปี) และสำเนาใบอนุญาตทำงาน ทุกเล่ม ทุกหน้า
6. หนังสือรับรองเงินเดือนจากกิจการที่ผู้ยื่นคำขอทำงานอยู่ ซึ่งลงนามโดยมีผู้ลงอำนาจในกิจการนั้น (ตามแบบที่กำหนด) ย้อนหลัง 2 ปี (ดาวโหลด www.imimigration.go.th - การขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรประจำปี) และใบสมัครพร้อมสัญญาจ้าง (ถ้ามี)
7. สำเนาแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด. 91 หรือ ภ.ง.ด. 90) ของผู้ยื่นคำขอ พร้อมหลักฐานการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตร 50 ทวิ จำนวน 3 ปีก่อนหน้าปีที่ยื่นคำขอ ซึ่งรับรองสำเนาโดยเจ้าหน้าที่ของสรรพากร พร้อมสำเนาใบเสร็จรับเงิน
8. สำเนาแบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด. 1) ตั้งแต่ต้นปี จนถึงเดือนก่อนหน้าที่ยื่นคำขอ ซึ่งรับรองสำเนาโดยเจ้าหน้าที่ของสรรพากร พร้อมสำเนาใบเสร็จรับเงิน
9. หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลที่ผู้ยื่นคำขอทำงานอยู่ (ฉบับคัดสำเนาจากกระทรวงพาณิชย์ แบะมีอายุไม่เกิน 3 เดือน นับถึงวันที่ยื่นคำขอ)
10. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลที่ผู้ยื่นคำขอทำงานอยู่ จำนวน 3 ปีก่อนหน้าที่ยื่นคำขอ
11. บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (ฉบับคัดสำเนาจากระทรวงพาณิชย์ และมีอายุไม่เกิน 3 เดือนนับถึงวันที่ยื่นคำขอ) และหากผู้ยื่นคำขอถือหุ้นตั้งแต่ 54 ล้านบาทขึ้นไป ให้แนบบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นย้อนหลัง 3 ปี มาแสดงด้วย
12. สำเนาทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ เช่น ภ.พ.01, ภ.พ.09 และ ภ.พ.20
13. สำเนางบการเงิน (งบดุล งบกำไรขาดทุน) พร้อมแบบ ภ.ง.ด.50 จำนวน 3 ปีก่อนหน้าปีที่ยื่นคำขอ ซึ่งรับรองสำเนาโดยเจ้าหน้าที่ของสรรพากรพร้อมสำเนาใบเสร็จรับเงิน
14. หนังสือธนาคารรับรองการส่งออกสินค้าในรอบ 3 ปีก่อนหน้าปีที่ยื่นคำขอ (เฉพาะกิจการที่มีการส่งออกสินค้า)
15. หนังสือรับรองการนำนักท่องเที่ยวเข้ามาในรอบ 3 ปีก่อนหน้าปีที่ยื่นคำขอจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว (เฉพาะกิจการท่องเที่ยว)
16. นิติบุคคลใด ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ให้สำเนาบัตรส่งเสริม หรือ เอกสารที่แสดงว่าได้รับการส่งเสริมด้วย
17. แผนที่แสดงสถานที่พำนักอาศัยและสถานที่ทำงาน (ดาวโหลด www.imimigration.go.th - การขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรประจำปี)
19. แบบข้อมูลบุคคล ดาวโหลด www.imimigration.go.th - การขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรประจำปี) และภาพถ่ายคนต่างด้าวภายนอกสถานที่ทำงาน (คนเดียว). ภายในสาถนที่ทำงานกับพนักงาน, ภายนอกโรงงาน (คนเดียว), ภายในโรงงานกับคนงาน เครื่องจักร และสินค้า (ถ้ามี), ภาพถ่ายคนต่างด้าวภายนอกที่พักอาศัย ภายในที่พักอาศัย พร้อมครอบครัว (ถ้ามี) จำนวน 18 ภาพ ขนาดโปรสการ์ด ทุกภาพติดบนกระดาษหัวบริษัท ขนาด A4 พร้อมคำบรรยายใต้ภาพ
20. เอกสารอื่นๆ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรเรียกเพิ่มเติม

หมายเหตุ 
- เอกสารใดเป็นเอกสารส่วนตัว ให้คนต่างด้าวรับรองสำเนาเอง
- เอกสารใดเป็นเอกสารของนิติบุคคล ให้รับรองโดยผู้มีอำนาจลงนามในนิติบุคคลนั้นพร้อมประทับตราสำคัญของบริษัทฯ
- เอกสารใดเป็นภาษาต่างประเทศ ต้องผ่านการรับรองจากกงสุลของประเทศนั้นๆ ในประเทศไทย, 
แปลเป็นภาษาไทย โดยระบุรายละเอียดของผู้แปลที่สามารถตรวจสอบได้ และผ่านการรับรองการ
แปลจากกองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ


เอกสารประกอบขอมีถิ่นที่อยู่ฯ ประเภทเข้ามาเป็นผู้เชี่ยวชาญ (ธันวาคม 2552)
1. แบบคำขอเพื่อมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร (แบบ ตม.9)ตม.9) (ดาวโหลด www.imimigration.go.th - การขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรประจำปี)
2. ใบรับรองแพทย์จากโรงพยาบาทรัฐบาล (อายุไม่เกิน 3 เดือน) (ดาวโหลด www.imimigration.go.th - การขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรประจำปี)
3. หนังสือรับรองว่าไม่เคยมีประวัติอาชญากรรมจากประเทศที่ตนมีภูมิลำเนา โดยผ่านการรับรองจากกงสุลไทยในประเทศนั้นๆ หรือผ่านการรับรองจากกงสุลของประเทศนั้นๆ ในประเทศไทย, แปลเป็นภาษาไทย และผ่านการรับรองจากกองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ 
4. สำเนาเอกสารแสดงคุณวุฒิการศึกษาของผู้ยื่นคำขอ ผ่านการรับรองจากกงสุลของประเทศนั้นๆ ในประเทศไทย, แปลเป็นภาษาไทย และผ่านการรับรองจากกองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงต่างประเทศ
5. หนังสือรับรองการผ่านงานหรือ ประสบการณ์การทำงาน
6. หนังสือรับรองประวัติการทำงานจากสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางานเงินเดือน (ดาวโหลดตัวอย่าง www.imimigration.go.th - การขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรประจำปี) และสำเนาใบอนุญาตทำงาน ทุกเล่ม ทุกหน้า (ถ้ามี)
7. หนังสือรับรองการทำงานจากหน่วยงานที่ผู้ยื่นคำขอทำงานอยู่ โดยให้ระบุรายละเอียดการทำงาน รายได้ต่อเดือน
8. สำเนาแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด. 91 หรือ ภ.ง.ด. 90) ของผู้ยื่นคำขอ พร้อมหลักฐานการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตร 50 ทวิ จำนวน 3 ปีก่อนหน้าปีที่ยื่นคำขอ ซึ่งรับรองสำเนาโดยเจ้าหน้าที่ของสรรพากร พร้อมสำเนาใบเสร็จรับเงิน
9. สำเนาแบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด. 1) ตั้งแต่ต้นปี จนถึงเดือนก่อนหน้าที่ยื่นคำขอ ซึ่งรับรองสำเนาโดยเจ้าหน้าที่ของสรรพากร พร้อมสำเนาใบเสร็จรับเงิน (ถ้ามี)
10. หนังสือสนับสนุนจากส่วนราชการ หรือ รัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง 
11. แผนที่แสดงสถานที่พำนักอาศัยและสถานที่ทำงาน (ดาวโหลดตัวอย่าง www.imimigration.go.th - การขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรประจำปี) 
12. สำเนาหนังสือเดินทางที่แสดงว่าได้รับอนุญาตให้อยู่ต่อมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี (ทุกเล่มและทุกหน้า)
13. แบบข้อมูลบุคคล (ดาวโหลดตัวอย่าง www.imimigration.go.th - การขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรประจำปี) และภาพถ่ายคนต่างด้าวภายนอกสถานที่ทำงาน (คนเดียว), ภายในสาถนที่ทำงานกับพนักงาน, ภายนอกโรงงาน (คนเดียว), ภายในโรงงานกับคนงาน เครื่องจักร และสินค้า (ถ้ามี), ภาพถ่ายคนต่างด้าวภายนอกที่พักอาศัย ภายในที่พักอาศัย พร้อมครอบครัว (ถ้ามี) จำนวน 10 ภาพ ขนาดโปสการ์ด ทุกภาพติดบนกระดาษหัวบริษัท ขนาด A4 พร้อมคำบรรยายใต้ภาพ
14. เอกสารอื่นๆ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรเรียกเพิ่มเติม
 

หมายเหตุ 
- เอกสารใดเป็นเอกสารส่วนตัว ให้คนต่างด้าวรับรองสำเนาเอง
- เอกสารใดเป็นเอกสารของนิติบุคคล ให้รับรองโดยผู้มีอำนาจลงนามในนิติบุคคลนั้นพร้อมประทับตราสำคัญของบริษัทฯ
- เอกสารใดเป็นภาษาต่างประเทศ ต้องผ่านการรับรองจากกงสุลของประเทศนั้นๆ ในประเทศไทย, 
แปลเป็นภาษาไทย โดยระบุรายละเอียดของผู้แปลที่สามารถตรวจสอบได้ และผ่านการรับรองการแปลจากกองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ

 

With Permanent Residence in Thailand the foreigners can live permanently in Thailand, with no requirement to apply for an extension of temporary stay. If they meet the following criteria:

1. Holds a passport of his/her current nationality, which was granted a Non-Immigrant visa and the individual has been permitted to stay in Thailand for at least 3 consecutive years on a 1-year visa extension basis up to the application submission date.

2. Has personal qualifications that meet one or more of the following categories:

1) Investment category (minimum 3 - 10 Million Baht investment in Thailand)

2) Working/ Business category 

  • Earn monthly income not less than 30,000 Baht (for those who married Thai for five years)
  • Earn monthly income not less than 80,000 Baht (for those who are single)
  • Have been filing tax return for the amount of annual income of Baht 100,000 for at least 2 consecutive years.

3) Support a family or Humanity Reasons category: He/she must have relationship with a Thai citizen or an alien who already possesses a residence permit as the followings:

  • A legal husband or wife
  • A legal father or mother
  • A child who is under 20 years of age up to the submission date of application and must be single

4) Expert / academics category

5) Other categories

The Thai Immigration Bureau has quotas for all expatriates applying for residence permit at 100 persons per nationality. The Immigration Commission has the power to define all regulations concerning permanent residency. The Immigration Bureau is the agency that handles all procedures concerning permanent residency applications.

 A permanent resident has the privileges as following: 

  • Able to buy a condominium in Thailand without being required to transfer money from bank account abroad;
  • Can apply for naturalization citizenship in accordance with the law concerned.
  • Children born in The Kingdom will be granted Thai nationality.
  • Can be a director of a public company in Thailand.
  • Able to apply for an extension of stay or permanent residence for non-Thai family members.

 

How to Apply for Thai Residency?

First step 

Sawadee Visa will assist you to prepare all documents required, we suggest you to prepare those documents 1-4 months prior to the open date for submit the application which is normally once a year in December. Basically once the date is announced, the applications can be submitted until the last working day of the year.

Second step 
Once the application date is announced Tila will submit your application along with all documents required to the Thai Immigration Bureau. The result of the application will normally be announced in May and the residence permits will be issued in December. Thai residency permit will never expire, except it has been revoked. However, if you plan to leave the country, you need to apply for re-entry permit. After you live in Thailand for FIVE consecutive years with permanent residence permit, you will be eligible for applying for Thai citizenship.

After your application has been approved then a residence blue book is issued to the foreigner. The foreign resident must register the place of residence in Thailand at the local district office and obtain a house card. 7 days after receipt of the residence certificate you then apply for an alien book (red book) at the local police station.

 Official Fees: 

Application for a residence permit 
7,600

Approval of a residence permit (payable on receipt of residence book) 
191,400

Approval of a residence permit (payable on receipt of residence book) for a foreigner married to a Thai, the spouse of a resident, and any of their children who have not reached the status of a Thai juristic person (i.e., unmarried children aged below 20 years) 
95,700

 

 

 ไทยวีซ่าเซ็นเตอร์ เลขที่ 201 ซอยลาดพร้าว122 แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง จังหวัดกรุงเทพมหานคร 10310

โทร 02-9340187 , 081-5951466 (คุณหนุ่ย)

www.thaivisacenter.com   E-mail:thaivisacenter@gmail.com

Thai Visa Center  201 Soi Ladphrao122, Plubpla,Wangthonglang,Bangkok 10310 Thailand 

Tel: (+66) 2-9340187,  (+66)081-5951466 (Thai)

 

Visitors: 1,077,421